บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

สังคมออนไลน์ Social Network

สังคมออนไลน์ สังคมลวงโลก??
มันไร้ขอบเขตทางสังคม มันเป็นเพียงจินตนาการ และคุณจะโดนคุกคามได้ทุกเวลา นับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตมีบทบาทกับชีวิตของชีวิตประจำวันที่มากขึ้น ทำให้คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตร่วมกับอินเทอร์เนตอย่างกับว่ามันคือส่วนหนึ่งของ ชีวิต และใช้มันอย่างบ้าคลั่งในยุคที่การสื่อสารเปิดกว้างขึ้น นั่นเป็นที่มาของการฉกฉวยโอกาสต่างๆ ทางโลกออนไลน์เหล่านี้
ปัจจุบันมีการใช้สื่อแบบสังคมออนไลน์ติดต่อกันในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะทั้งการคุยส่วนตัว หรือแม่กระทั่งใช้สื่อในลักษณะนี้ทำงาน เพื่อให้ได้กลุ่มสังคมที่อยู่โลกของอินเทอร์เนตเป็นตัวต่อ ต่อไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีวันจบสิ้น นับว่าเป็นสิ่งที่ฉลาดมากเนื่องจากไม่ต้องลงทุนอะไรเลยก็ได้กลุ่มคนจำนวน มหาศาล เข้าเป็นเครือข่ายได้ในเวลาอันรวดเร็ว จากคนที่ไม่เคยได้รู้จักกัน ก็รู้จักกัน จากคนที่ไม่เคยเจอกันนับแรมปีก็ได้มาเจอกันในของสังคมออนไลน์
เครือ ข่ายสังคมเป็นระบบที่ฉลาดสามารถที่คาดเดาความรู้จักหรือ ความเป็นเพื่อนจาก Profiles ของตัวเองที่กรอกเอาไว้ตั้งแต่ตอนสมัครเข้าใช้บริการ นั่นถือว่าเป็นความคิดที่ดีมาก ในการทำให้เกิดความสัมพันธ์เกิดขึ้นใหม่ จากที่ไม่เคยคุยกันเลย ก็มาได้เจอกันในสังคมแห่งนี้
แต่เนื่องจากการเชื่อมต่อคนเป็นเครือข่ายที่มากมายทั่วโลก ทำให้มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ปะปนอยู่ทั่วไปหมด ซึ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจทั้งสิ้น เพราะว่าการใช้บริการของโลกสังคอมออนไลน์ไม่สามารถที่จะควบคุมได้ทั่วถึง ผู้ใช้เองจะต้องเป็นคนไตร่ตรองให้ดี ว่าสิ่งที่เราเผชิญอยู่ด้านหน้านั้นจะมาในรูปแบบไหน การที่ใช้สื่อทางสังคมออนไลน์ ในการทำความรู้จัก นั้นเป็นสิ่งที่ยากต่อการสัมผัสได้ เพราะเป็นเรื่องของคนที่ไม่เคยรู้จักกัน ให้มารู้จักกัน ซึ่งมันเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก เพียงแค่ไม่กี่นาที คุณก็สามารถเป็นเพื่อนของเพื่อนของอีกคนหนึ่งได้ โดยที่คุณไม่ต้องทำความรู้จักแบบลึกซึ้งกันเลย
นั่นเป็นชนวนที่ทำให้ เกิดถึงความสัมพันธ์ที่ไม่ได้มีการไตร่ตรอง จึงมีเรื่องราวมากมายตามสื่อต่างๆ ไม่เว้นแต่ละวัน นั่นก็เป็นสิ่งที่ทำให้โลกของสังคมออนไลน์นั้น มีความเชื่อถือได้น้อยมาก เว้นเสียจากคุณเป็นเพื่อนที่แท้จริงหรือเป็นคนที่คุณรู้จักเท่านั้น แต่การเปิดโอกาสทำความรูจักกันใหม่ก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการ ยิ่งได้เพื่อนใหม่มากเท่าไหร่ก็เห็นจะเป็นเรื่องดีกับมนุษย์ทุกคน ซึ่งการฉวยโอกาสจากสิ่งนี้เห็นทีจะเป็นเรื่องราวใหญ่โตบนสังคมแห่งโลกออ นไลน์ ที่คุณไม่ได้รู้ถึงความรู้สึก นึกคิดที่แท้จริงๆ ของคนๆ นั้น เป็นเพียงการรู้จักกันทางเมทริกซ์เท่านั้นเอง
สังคมออนไลน์ทำให้การปฏิสัมพันธ์แบบเดิมถูกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ความรู้สึกนึกคิด การถ่ายทอดความเป็นบุคคลถูกส่งผ่าน รูปภาพและตัวหนังสือ ที่ผู้รับสารต้องจินตนาการในรูปแบบของดิจิทัลว่าข้อความเหล่านั้น รูปภาพเหล่านั้น เป็นจริงและสวยงามอย่างที่จินตนาการไว้หรือไม่ บางคนสามารถที่จะอยู่กับจินตนาการได้อย่างไร้ตัวตนที่แท้จริง บางคนก็ทำจินตนาการให้เป็นจริงได้ ซึ่งถ้าเราย้อนกลับไปในสมัยที่สังคมออนไลน์ยังไม่เกิดขึ้น เต็มที่การปฏิสัมพันธ์กับระบบ IM อย่าง QQ, MSN, ICQ, PIRCH, ก็เป็นเรื่องที่น่าทึ่งเพียงพอแล้ว พอมีการนวัตกรรมทางด้านการสื่อสารเกิดขึ้น เรื่องราวเหล่านี้ก็ถูกทำให้เป็นจริงมากขึ้นโดยสังคมออนไลน์ สังคมระบบเปิดที่ทำให้ทุกคนรู้จักกันได้
ต้องยอมรับว่า สังคมออนไลน์ หรือ Social Network นั้นเข้ามามีบทบาททำให้ทุกคนใช้มันอย่างบ้าคลั่ง และดูเหมือนจะเข้าสู่โลกของจินตนาการแบบเต็มรูปแบบแล้วจริงๆ คงไม่ผิดถ้าจะบอกว่าผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ต 80% จะมี Facebook, Twiiter หรือ IM เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร ในการติดต่อสื่อสารนั้นแต่ละคนก็มีรูปแบบที่แตกต่างกัน บ้างไว้คุย บ้างไว้ทำงาน บ้างก็ไว้อยู่กับจินตนาการ หลากหลายประเภท ไม่ผิดที่การใช้งานหลากหลายรูปแบบนี้ทำให้เกิดความสะดวกสบายขึ้นในชีวิต ประจำวัน ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน เพื่อนของคุณก็จะรับรู้ความเป็นไปกันแบบ Two Way Communication หรือการสื่อสารแบบสองทางเสมอ นั่นดีมาก ระบบสร้างขึ้นมาให้ถูกใช้งานในลักษณะที่เป็นการเชื่อมโยงแบบเครือข่าย ผู้ที่รับผิดชอบถูกผิดนั่น อยู่ที่บุคคลผู้ใช้งานทั้งสิ้น
กลุ่มคนที่ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ บางกลุ่มจะยึดติดความเป็นไปทางโลกแห่งดิจิทัล โดยใช้เครื่องมืออะไรก็ได้ที่เป็นทางผ่านเพื่อให้เข้าได้ถึงโลกของสังคม เครือข่าย โดยไม่ได้คำนึงถึงโลกของความจริงรอบตัวว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เคยมีภาพยนตร์โฆษณาของผู้ให้บริการรายหนึ่งซึ่งทำออกมาดีมากสะท้อนให้เห็น ถึงบทบาทของการการปฏิสัมพันธ์ในโลกแห่งความเป็นจริงของผู้คนรอบกาย สิ่งต่างๆ ที่อยู่ในส่วนของการรับรู้ปัจจุบัน ทั้งหมดนี้ก็แสดงถึงความใกล้ชิดทางสังคมที่แท้จริง อย่าให้สิ่งเหล่านี้เข้ามาแทนที่ความใกล้ชิด ความอบอุ่น การปฏิสัมพันธ์แบบชีวิตแห่งความจริง
ใช้อย่างมีเหตุผล ใช้อย่างรู้สำนึก ใช้อย่างรู้คุณค่า ไตร่ตรองความจริงให้ถูกต้อง เพราะไม่เช่นนั้น คุณอาจจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในทางต่างๆ โดยที่คุณไม่รู้ตัวเลย สังคมออนไลน์เป็นสังคมแบบเปิด คุณต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะเมื่อคุณก้าวเข้าสู่โลกแห่งอินเทอร์เน็ตแล้ว คุณไม่สามารถปิดกั้นตัวตนทางดิจิทัลได้เลยแม้แต่น้อย ระวังตกเป็นผู้ต้องหาทางสังคมออนไลน์โดยที่คุณไม่ได้ทำอะไรเลย
S! Hitech Comment

ภัยคุกคามในระบบสารสนเทศ

ภัยคุกคามในระบบสารสนเทศ
มัลแวร์ (Malware)
    คือความไม่ปกติทางโปรแกรม ที่สูญเสีย C (Confidentiality), I (Integrity) และ A (Availability) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมด จนเกิดเป็นไวรัส เวิร์ม โทรจัน สปายแวร์ Backdoor และ Rootkit
- การสูญเสีย C (Confidentiality) คือ สูญเสียความลับทางข้อมูล
- การสูญเสีย I (Integrity) คือ สูญเสียความไม่เปลี่ยนแปลงของข้อมูล นั่นคือ ข้อมูลถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข โดยเฉพาะส่วนสาคัญที่เกี่ยวโยงกับระบบภายในระบบปฏิบัติการ
- การสูญเสีย A (Availability) คือ สูญเสียเสถียรภาพของระบบปฏิบัติการ

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) 
    คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
บ่อยครั้งที่ผู้คนจะสับสนระหว่างไวรัสกับเวิร์ม เวิร์มนั้นจะมีลักษณะของการแพร่กระจายโดยไม่ต้องพึ่งพาหะ ส่วนไวรัสนั้นจะสามารถแพร่กระจายได้ก็ต่อเมื่อมีพาหะนาพาไปเท่านั้น เช่น ทางเครือข่าย หรือทางแผ่นดิสก์ โดยไวรัสนั้นอาจฝังตัวอยู่กับแฟ้มข้อมูล และเครื่องคอมพิวเตอร์จะติดไวรัสเมื่อมีการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลนั้น
หนอนคอมพิวเตอร์ (computer worm) 
    คือ หน่วยย่อยลงมาจากไวรัสคอมพิวเตอร์ ปกติแล้ว หนอนคอมพิวเตอร์จะแพร่กระจายโดยไม่ผ่านการใช้งานของผู้ใช้ โดยมันจะคัดลอกและกระจายตัวมันเองข้ามเครือข่าย เช่น ระบบเครือข่าย หรือ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น หนอนคอมพิวเตอร์สามารถทาลายข้อมูลและแบนด์วิทสร้างความเสียหายให้กับ คอมพิวเตอร์รวมไปถึงการทาให้คอมพิวเตอร์หยุดทางาน
ม้าโทรจัน (Trojan horse) 
    หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนาไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services)
สปายแวร์ 
    คือ ประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกการกระทาของผู้ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ และส่งผ่านอินเทอร์เน็ตโดยที่ผู้ใช้ไม่ได้รับทราบ โปรแกรมแอบดักข้อมูลนั้นสามารถรวบรวมข้อมูล สถิติการใช้งานจากผู้ใช้ได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับการออกแบบของโปรแกรม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วบันทึกเว็บไซต์ที่ผู้ใช้เข้าถึง และส่งไปยังบริษัทโฆษณาต่างๆ บางโปรแกรมอาจบันทึกว่าผู้ใช้พิมพ์อะไรบ้าง เพื่อพยายามค้นหารหัสผ่าน หรือเลขหมายบัตรเครดิต
ประตูหลัง (backdoor) 
    ใน ทางความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง รูรั่วของระบบรักษาความมั่นคง ที่ผู้ออกแบบหรือผู้ดูแลจงใจทิ้งไว้ โดยเป็นกลไกลลับทางซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่ใช้ข้ามผ่านการควบคุมความมั่น คง แต่อาจเปิดทางให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเข้ามาในระบบและก่อความเสียหายได้
Rootkit 
    เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อซ่อนอ็อบเจ็กต์ต่างๆ เช่น กระบวนงาน ไฟล์ หรือข้อมูลในรีจิสทรี แม้จะเป็นโปรแกรมที่อาจไม่เป็นอันตรายเสมอไป แต่ก็ถูกนามาใช้ในการซ่อนกิจกรรมที่เป็นอันตรายมากขึ้นในปัจจุบัน ทาให้คอมพิวเตอร์ใดๆ สามารถส่งสแปมหรือทาการโจมตีคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้โดยที่ผู้ใช้เป้าหมายไม่สามารถล่วงรู้และโปรแกรมด้านความปลอดภัยทั่วไป ไม่สามารถตรวจจับได้
การโจมตีแบบอื่นๆ
การโจมตีแบบ DoS/DDoS 
    เป็นความพยายามโจมตีเพื่อทาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางหยุดทางาน หรือสูญเสียเสถียรภาพ หากเครื่องต้นทาง (ผู้โจมตี) มีเครื่องเดียว เรียกว่าการโจมตีแบบ Denial of Service (DoS) แต่หากผู้โจมตีมีมากและกระทาพร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ จะเรียกว่าการโจมตีแบบ Distributed Denial of Service (DDoS) ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวล้าในปัจจุบัน ซึ่งมีภัยคุกคามมากมาย และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทาให้ปัจจุบันการโจมตีส่วนใหญ่ในโลกออนไลน์ มักเป็นการโจมตีแบบ DDoS
BOTNET 
    เป็นเครือข่ายหุ่นรบที่ถือเป็นสะพานเชื่อมภัยคุกคามทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ด้วยมัลแวร์ทั้งหลายที่กล่าวในตอนต้นต้องการตัวนาทางเพื่อต่อยอดความเสียหาย และทาให้ยากแก่การควบคุมมากขึ้น ตัวนาทางที่ว่านี้ก็คือ Botnet ซึ่งก่อให้เกิดภัยคุกคามที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เองโดยลาพัง เช่น Spam, DoS/DDoS และ Phishing เป็นต้น


Spam Mail 
    หรืออีเมล์ขยะ เป็นขยะออนไลน์ที่ส่งตรงถึงผู้รับ โดยที่ผู้รับสารนั้นไม่ต้องการ และสร้างความเดือดร้อน ราคาญให้กับผู้รับได้ ในลักษณะของการโฆษณาสินค้าหรือบริการ การชักชวนเข้าไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งอาจมีภัยคุกคามชนิด phishing แฝงเข้ามาด้วย ด้วยเหตุนี้จึงควรติดตั้งระบบ anti spam หรือหากใช้ฟรีอีเมล์ เช่น hotmail, yahoo ก็จะมีโปรแกรมคัดกรองอีเมล์ขยะในชั้นหนึ่งแล้ว
Phishing 
    คือ การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขอข้อมูลที่สาคัญเช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือเมสเซนเจอร์ตัวอย่างของการฟิชชิง เช่น การบอกแก่ผู้รับปลายทางว่าเป็นธนาคารหรือบริษัทที่น่าเชื่อถือ และแจ้งว่ามีสาเหตุทาให้คุณต้องเข้าสู่ระบบและใส่ข้อมูลที่สาคัญใหม่ โดยเว็บไซต์ที่ลิงก์ไปนั้น มักจะมีหน้าตาคล้ายคลึงกับเว็บที่กล่าวถึง Phishing แผลงมาจากคาว่า fishing แปลว่าการตกปลา ซึ่งมีความหมายถึง การปล่อยให้ปลามากินเหยื่อที่ล่อไว้
Sniffing 
    เป็นการดักข้อมูลที่ส่งจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เป็นวิธีการหนึ่งที่นักโจมตีระบบนิยมใช้
Hacking 
    เป็นการเจาะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะกระทาด้วยมนุษย์ หรือ อาศัยโปรแกรมแฮกหลากรูปแบบ ที่หาได้ง่ายในโลกอินเทอร์เน็ต แถมยังใช้งานได้ง่าย ไม่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในคอมพิวเตอร์ก็สามารถเจาะระบบได้ จึงควรที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจะเฝ้าระวังและป้องกันตนเองให้ปลอดภัย

แนวทางป้องกันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต
    เมื่อได้ทำความรู้จักกับภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ แล้ว จึงขอสรุป 10 วิธีป้องกันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต สำหรับการใช้งานส่วนบุคคล
- ตั้งสติก่อนเปิดเครื่อง
- กำหนด Password ที่ยากแก่การคาดเดา
- สังเกตขณะเปิดเครื่อง 
- หมั่นตรวจสอบและอัพเดต OS
- หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้
- ไม่ลงซอฟต์แวร์มากเกินจำเป็น
- ไม่ควรเข้าเว็บไซต์เสี่ยงภัย
- สังเกตความปลอดภัยของเว็บไซต์ที่ ให้บริการธุรกรรมออนไลน์
- ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวลงบนเว็บ Social Network
- ศึกษาถึงข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต
- ไม่หลงเชื่อโดยง่าย
1. ตั้งสติก่อนเปิดเครื่อง
- ก่อน Login เข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ ต้องมั่นใจว่าไม่มีใครแอบดู Password
- เมื่อไม่ได้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ควรล็อคหน้าจอให้อยู่ในสถานะที่ต้องใส่ค่า Login
- อย่าประมาทในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ตระหนักไว้ว่าข้อมูลความลับ อาจถูกเปิดเผยได้เสมอในโลกออนไลน์
2. กำหนด Password ที่ยากแก่การคาดเดา
    ควรมีความยาวไม่ต่ากว่า 8 ตัวอักษร และใช้อักขระพิเศษ ไม่ตรงกับความหมายในพจนานุกรม เพื่อให้เดาได้ยากมากขึ้นและการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป เช่น การ Login ระบบ e-mail ระบบสนทนาออนไลน์ (Chat) หรือระบบเว็บไซต์ที่เราเป็นสมาชิกอยู่ ทางที่ดีควรใช้ Password ที่ต่างกันบ้างพอให้จำได้ หรือมีเครื่องมือช่วยจำ Password เข้ามาช่วย
3. สังเกตขณะเปิดเครื่อง
    สังเกตขณะเปิดเครื่องว่ามีโปรแกรมไม่พึงประสงค์รัน มาพร้อมๆกับการเปิดเครื่องหรือไม่ ถ้าดูไม่ทัน ให้ สังเกตระยะเวลาบูตเครื่อง หากนานผิดปกติ อาจเป็นไปได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ติดปัญหาจากไวรัส หรือปัญหาอื่นๆได้
4. หมั่นตรวจสอบและอัพเดท OS หรือซอฟต์แวรที่ใช้
    หมั่นตรวจสอบและอัพเดต OS หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ ให้เป็นเวอร์ชั่นปัจจุบัน โดยเฉพาะโปรแกรมป้องกันภัยในเครื่อง เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส หรือโปรแกรมไฟร์วอลล์ และควรใช้ระบบปฏิบัติการ และซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ควรอัพเดตอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ เนื่องจาก Application Software สมัยใหม่มักพึ่งพาอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ ก่อให้เกิดช่องโหว่ใหม่ๆ
5. ไม่ลงซอฟต์แวร์มากเกินจำเป็น
- Internet Browser
- E-Mail
- โปรแกรมทางด้านเอกสาร ตกแต่งภาพ เสียง วีดีโอ
- โปรแกรมป้องกันไวรัส และโปรแกรมไฟร์วอลล์
6. ไม่ควรเข้าเว็บไซต์เสี่ยงภัย
- เว็บไซต์ลามกอนาจาร
- เว็บไซต์การพนัน
- เว็บไซต์แนบไฟล์ .EXE
- เว็บไซต์ที่ Pop-up หลายเพจ
- เว็บไซต์ที่มีLinkไม่ตรงกับชื่อ
7. สังเกตความปลอดภัยของเว็บไซต์ที่ให้บริการ ธุรกรรมออนไลน์
    Web e-Commerce ที่ปลอดภัยควร มีลักษณะดังนี้
- มีการทำ HTTPS เนื่องจาก HTTPS จะมีการเข้ารหัสข้อมูล
- มีใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ CA (Certificate Authority)
- มีมาตรฐาน (Compliance) รองรับ เช่น ผ่านมาตรฐาน PCI/DSS
8. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวผ่าน Social Network
- เลขที่บัตรประชาชน
- หนังสือเดินทาง
- ประวัติการทำงาน
- เบอร์โทรศัพท์ส่วนตัว
- ข้อมูลทางการแพทย์
- หมายเลขบัตรเครดิต
9. ศึกษาถึงข้อกฏหมายเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต
            ศึกษาถึงข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต ตามพระราช บัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยมี หลักการง่ายๆ ที่จะช่วยให้สังคมออนไลน์สงบสุข คือ ให้คิดถึงใจเขาใจเรา หากเราไม่ชอบสิ่งใด ก็ไม่ควรทาสิ่งนั้นกับผู้อื่น และเวลาแสดง ความคิดเห็นบนกระดานแสดงความคิดเห็น (Web board) การรับส่ง e-mail หรือการกระทาใดๆกับข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
10. ไม่หลงเชื่อโดยง่าย
            อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น และงมงายกับข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ควรหมั่นศึกษาหาความรู้จากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ก่อนเชื่อในสิ่งที่ได้รับรู้

    จากวิธีป้องกันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต 10 วิธี ข้างต้นถือแนวทาง เพื่อเพิ่มความระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ต เพราะภัยคุกคามจากการใช้อินเทอร์เน็ตมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้งานของเราเอง การมีชุดซอฟต์แวร์ป้องกันในเครื่องมิใช่คาตอบสุดท้าย
ความปลอดภัยจะเกิดขึ้นได้ล้วนแล้วแต่พึ่งพาสติและความรู้เท่าทันของเราเอง อีกทั้งควรระลึกไว้เสมอว่า ความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลจะเกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มต้นจากตัวเองเสียก่อน หากผู้ใช้งานปลอดภัย ระบบเครือข่ายภายในองค์กรนั้นก็จะปลอดภัย เครือข่ายองค์กรอื่นๆที่มาร่วมใช้งานระบบก็ปลอดภัย

เบราเซอร์ (Browser)

เบราเซอร์ (Browser) คืออะไร
      เบราเซอร์ (Browser) เป็นชื่อที่ใช้เรียกโปรแกรมที่เราใช้ท่องเว็บกัน ซึ่งชื่อนี้หลายท่านไม่คุ้นและไม่รู้จัก ส่วนมากเวลาถามว่าใช้อะไรเล่นเน็ตก็มักจะได้คำตอบว่า IE บ้าง Chrome บ้าง Firefox บ้าง แต่พอถามว่าใช้เบราเซอร์อะไร กลับได้รับคำตอบคือ งงๆๆๆ อะไรคือเบราเซอร์?
      เบราเซอร์ (Browser) คือโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์  เบราเซอร์มีความสามารถในการเปิดดูไฟล์ต่างๆ ที่สนับสนุนเช่น Flash  JavaScript  PDF  Media ต่างๆ ซึ่งเบราเซอร์มีหลายตัวและความสามารถของแต่ละตัวก็แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่า ผู้พัฒนาเบราเซอร์  พัฒนาให้มีความสามารถอะไรบ้าง เบราเซอร์มักใช้เปิดดูเว็บเป็นส่วนใหญ่ และการใช้งานต่างๆในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็มักจะทำผ่านเบราเซอร์ เช่น การดูภาพยนตร์ผ่าน Youtube  การส่งเมล์  การซื้อขายสินค้าในระบบ e-commerce  การใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)  การดาวน์โหลดไฟล์  การเล่นเกมผ่านเน็ต  การเรียนออนไลน์  เป็นต้น  ล้วนแล้วแต่ทำผ่านเบราเซอร์ทั้งสิ้น
      เรามาดูกันครับว่ามีเบราเซอร์อะไรที่นิยมใช้กันบ้าง


ชื่อเบราเซอร์ ข้อดี ข้อจำกัด
browser-ie
Internet Explorer (IE)
- เป็นบราวเซอร์ที่คนใช้งานมากที่สุดในโลก
  รองรับการเปิดเว็บไซต์ได้ทุกเว็บไซต์ เมื่อเกิด
  ปัญหาเกิดสามารถแก้ไขได้ง่าย
- เว็บไซต์เกมทุกเว็บหรือโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ
  รองรับโค้ดของ IE
- IE เปิดหลายๆ แท็บมักจะเกิดอาการค้าง
  ไม่ทำงาน
- ช้าที่สุด เมื่อเทียบกับบราวเซอร์อื่นๆ
- ใช้หน่วยความจำคอมพิวเตอร์มากที่สุด
  ซึ่งอาจทำให้เครื่องช้าไปด้วย
browser-firefox
FireFox
- เร็วที่สุดในบรรดาเบราเซอร์ทุกตัวในที่นี้
- เต็มไปด้วยอุปกรณ์เสริม ( add-ons )
- ถ้าโดนบุกรุกจากสปายแวร์ ไวรัส หากใช้
  เบราเซอร์ FireFox จะไม่ค่อยเจอปัญหา
  (เกือบ 100%) ด้วยระบบการรักษาความ
  ปลอดภัยและระบบการอัพเดตอยู่ตลอด
  จะช่วยแก้ปัญหาได้ อย่างทันท่วงที
- มีลุกเล่นเยอะ
- มีตัวดาวน์โหลดอยู่ในตัว
- มีการอัพเดทอยู่เรื่อย ๆ
- Google สนับสนุนน้อยลงเนื่องจาก หันไป
  พัฒนา Chrome แทน
- ผู้ใช้ทั่วโลกยังน้อย เมื่อเทียบกับ IE เพราะ IE
  ติดมากับวินโดว์อยู่แล้ว
- เว็บไซต์ส่วนใหญ่ทำด้วย IE แสดงผลใน
  Firefox ไม่ได้ หรือถ้าแสดงได้ ก็อาจ
  ไม่สมบูรณ์
- ไม่สามารถเข้าไปยังเว้บไซต์ของสถาบัน
  การเงินต่าง ๆ ได้
- เนื่องจากลูกเล่นเยอะ ก็มีข้อดีและข้อเสีย
  ในตัวคือลูกเล่นเยอะ เปิดแท็บได้เยอะ
  กินแรมมาก
browser-chrome
Google Chrome
- พื้นที่หน้าจอใหญ่ที่สุดและใช้เนื้อที่คุ้มค่าที่สุด
- เร็วกว่า IE และเร็วพอ ๆ กับ Firefox
- มีแถบสำหรับการค้นหาที่รวดเร็ว
- ขนาดไฟล์น้อย ไม่หนักเครื่อง
- หน้าต่างดาวน์โหลดอยู่แถบด้านล่าง ไม่เกะกะ
  เหมือน IE และ Firefox ที่เด้งออกมาเป็นอีก
  หน้าต่าง
- ดึงแอพของกูเกิลมาใช้งานอย่างสะดวก
- ไตเติ้ลบาร์สั้น
- เข้าเว็บสถาบันการเงิน ไม่ได้เช่นเดียวกับ
  FireFox
- ยังซัพพอร์ตภาษาไทยได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- การลบตัวอักษร ถ้าคำที่มีสระอยู่ด้วยมันจะลบ
  ไปหมด
browser-opera
Opera
- เร็วกว่า IE Chrome FireFox
- รูปลักษณ์สวย
- ใช้หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์
  น้อยกว่า IE แต่ก็ยังมากกว่า Chrome
- มี download manager ในตัว
- ซัพพอร์ต HTML  CSS
- ลูกเล่นน้อย บางหน้าเว็บแสดงผลเพี้ยน
- เวลาเปิด บางทีช้ากว่าเบราเซอร์อื่น ๆ
- ไม่ซัพพอร์ตเว็บที่เป็นไออีเท่านั้น เช่น
  เว็บของสถาบันการเงินต่างๆ
browser-safari
Safari
- โหลดหน้าเว็บเร็วมาก
- เล่น javascript เร็วกว่าเบราเซอร์อื่นๆ
- รองรับ CSS  Animation ซึ่งเบราเซอร์อื่น
  ไม่รองรับ
- รองรับ CSS Web Font
- สแกนข้อมูลได้รวดเร็ว
- ไวรัส สปายแวร์ต่าง ๆ ซาฟารีกำจัดได้ดีกว่า
  IE และ Firefox
- ลุกเล่นยังไม่ค่อยเยอะ โดยรวมแล้วไม่สู้
  Firefox
- มีปัญหาด้านภาษาไทยเหมือน Chrome
- กินทรัพยากรของคอมพิวเตอร์คุณค่อนข้าง
  เยอะพอ ๆ กับ IE
- ฟ้อนต์เพี้ยนเยอะมาก
ที่มาของข้อมูลในตาราง :: http://www.siamzone.com/board/view.php?sid=1798373

      สำหรับเบราเซอร์ของไทยก็มีนะครับ  ผมก็เคยใช้อยู่คือปลาวาฬเบราเซอร์ (Plawan Browser) เว็บไซต์ของเขาก็คือ http://www.plawan.com/ ซึ่งก็มีเบราเซอร์ให้ดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีๆ แถมมีระบบ Plawan Central Log ที่ใช้ติดตั้งเพื่อเก็บ Log ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ อีกด้วย
      รูปร่างหน้าตาของ Plawan ก็สวยดีครับสามารถเปลี่ยน Theme เป็นสีต่างๆได้ตามต้องการที่สำคัญคือรองรับภาษาไทยได้ 100% หน้าตาของ Plawan ก็เป็นแบบนี้ครับ

browser-plawan
      อัน ที่จริงแล้วเบราเซอร์ในโลก  ไม่ได้มีแค่นี้นะครับ ยังมีเบราเซอร์อื่นๆ ให้เลือกใช้งานได้อีกแต่ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเบราเซอร์ที่นิยมใช้กันทั่วไป เบราเซอร์อื่นๆเช่น CrazyBrowser  ThunderBrowser หรือตัวอื่นๆ ก็ลองหาใน Google ดูครับ ในการใช้งานเราอาจต้องใช้เบราเซอร์หลายตัว เพราะเว็บบางเว็บก็สนันสนุนเฉพาะเบราเซอร์บางตัวเท่านั้น ดังนั้นผมคิดว่าติดตั้งไว้หลายๆ ตัวในเครื่องเราดีกว่า

แนะนำตัวเอง

วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ ในชีวิตประจำวัน Information     Technology in Daily Life  

GEN 1102        SECTION : AF    
 

จัดทำโดย   นายสุทิน ปุนันท์    

รหัสนักศึกษา  571702211                                                                             

นักศึกษาโปรแกรมวิชา การพัฒนาสังคม